วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เห็ดฟางโรงรือน

การทดลองเพาะเห็ดฟางโรงเรือน โดย 1.การใช้วัสดุในทองถิ่น 2.ลดอาหารเสริม 3.ไม่เลี้ยงรา  4.ไม่อบไอน้ำ  5.ไม่ตัดใย


                     

        1.การใช้วัสดุในท้องถิ่น การเพาะเห็ด ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้ประสบปัญหาในการหาวัสดุที่จะนำมาเพาะ เช่นในภาคกลางโดยส่วนใหญ่นิยมใช้ทะลายปาล์มมาทำการเพาะด้วยวามเชื่อว่าการใช้ทะลายปาล์มในการเพาะเห็ดฟางใหผลผลิตสูงกว่าการใช้ฟางข้าว  ทางแถบราชบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ได้ทำการเพาะด้วยปา์ล์มกันเป็นส่วนใหญ่  ทะลายปาล์มหาไม่ยากแต่เนื่องจากจังหวัดที่กล่าวมาไม่มีการปลูกปาล์ม โดยส่วนใหญ่นำมาจากทางใต้  ทำให้ต้นทุนในการขนส่งสูงกว่าราคาที่แท้จริงของทะลายปาล์มมาก  ทั้งๆที่จังหวัดเหล่านี้มีวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรคือฟางข้าว แต่กลับไใ่เป็นที่นิยม
   
          จึงได้มีการพัฒนาการเพาะเห็ดฟางด้วยฟางข้าวให้ได้ผลผลิตสูงหรือสูงกว่าการใช้ทะลายปาล์ม  นอกจากนี้แล้วการใช้วัดุเพาะอย่างอื่นเช่นบางท้องถิ่น นิยมใช้กากมันซึ่งมีราคาสูง เราะกากมันสามรถนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้ 
          นอกจากนี้ได้ทำการวิจัยจนสามารถนำเอาหญ้าบางประเภทที่หาได้ง่าย าทำการเพาะเห็ดฟางได้ผลดี 
         2.ลดการใช้อาหารเสริมซึ่งเรียกกันว่าฮอร์โมนหรือชื่อเรียกต่างๆ ปัจจุบันเกษตรกรที่เพาะเห็ดฟางนิยมใช้อาหารเสริมจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนสูงมากโดยมีความเชื่อว่าสามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้น โดยไม่ได้ทำการพิสูจน์ จากการทดลองสามารถลดการใช้อาหารเสริมได้จำนวนมาก และให้ผลผลิตสูงมีความแน่นอนสามารถวางแผนการจำหน่ายได้

        3,4. ไม่เลี้ยงรา แอคติโนมัยซิสต์หรือเรียกกันว่าราหมอก  เป็นการสร้างอาหารให้เห็ดฟางก่อนที่จะมีการโรยเชื้อเห็ดลงไป  โดยการเอาวัสดุเพาะขึ้นไปไว้บนชั้นผสม เมื่อราแอคติดนมัยซิสต์เจริญเติบโตสร้างอาหารให้กับเห็ดฟางแล้วจึงทำการอบไอนำ้เพื่อทำการฆ่าราเสียเพราะกลัวไปแย่งอาหารเห็ด

        ไ้ด้มีการพัฒนาจนไม่ต้องมีขั้นตอน3และ4ทำให้สามรถลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการผลิตลงได้เยอะ

         5 การตัดใย ขั้นตอนนี้เกษตรกรเพาะเห็ดส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นการทำให้เส้นใยยุบและเกิดเห็ดฟางซึ่งเป็ความเข้าใจผิด แท้ที่จริงเป็นการเพิ่มความื้นที่ผิวหน้าของวัสดุเพาะเท่านั้น 
            เมื่อเรามีวิธีการที่ไม่ให้วัสดุเพาะ แห้ง ดดยมีความชื้นในอากาศสม่ำเสมอหน้าวัสดุเพาะไม่แห้ง จึงไม่มีความจำเป็นต้องโชยน้ำเพิ่มความชื้น จึงลดขั้นตอนและระยะเวลาการเกิดดอกได้เร็วขึ้น

        

   

       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น